เราอาจแบ่งยุคประวัติศาสตร์กฎหมายไทยได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-Modern Law) และยุคสมัยใหม่ (Modern Law) โดยทั้ง 2 ยุค จะมีจุดแบ่งในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของกฎหมายตะวันตกเข้ามาในประเทศ จนมีการจัดทำประมวลกฎหมายในเวลาต่อมา
1. ยุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-Modern Law) จะสามารถแบ่งได้อีกเป็น 2 ช่วง คือ
1) ช่วงที่เป็นกฎหมายไทยเดิมแท้ๆ จะเป็นกฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีของไทยแท้ๆ ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมของอินเดีย
2) ช่วงที่สองจะเป็นช่วงที่กฎหมายได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย
2. ยุคสมัยใหม่ (Modern Law) จะเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ จนต้องมีการจัดทำประมวลกฎหมายต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงเวลานี้เองที่เป็นจุดที่ประเทสไทยได้ก้าวสู่กระบวนการนิติบัญญัติแบบสมัยใหม่
ที่มา : แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2554.
ที่มา : แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2554.